กำหนดการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่

New Students Orientation

วันที่ 13 มิถุนายน 2564 เวลา 13.00 - 16.00 น.

กำหนดการช่วงที่ 1 (บรรยายรวม)
13.30 น. (Ms Team และ Facebook live)
  • คณบดีกล่าวต้อนรับนักศึกษาใหม่ แนะนำผู้บริหารวิทยาลัย
  • นักศึกษารับชมวีดีทัศน์
    • กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
    • แนะนำบริการห้องสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
  • กิจกรรมสำหรับนักศึกษา และทุนต่าง ๆ จากนายกสโมสรนักศึกษาฯ
  • กิจกรรมเกมส์ตอบคำถามกับนักศึกษาใหม่
กำหนดการช่วงที่ 2(แยกแต่ละหลักสูตรพบที่ปรึกษา)
เริ่มเวลา 15.00 น. ผ่านระบบ Zoom
    แนะนำหนักสูตรและการเตรียมพร้อมก่อนเรียน โดยประธานสาขา และอาจารย์ที่ปรึกษา
  • แนะนำอาจารย์ที่ปรึกษา
  • วิชา กิจกรรมที่เป็นจุดเด่นของหลักสูตร
  • การเตรียมตัว เตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียน
  • แผนการเรียน/กระบวนวิชาที่ต้องเรียนตามหลักสูตร/วิชาตามตาราง Package
  • ข้อควรระวังในการลงทะเบียน (เหตุสุดวิสัยต่างๆ, ไม่ชำระค่าเทอม/ชำระล่าช้า, ไม่ลงทะเบียน, ลาพัก, ลาออก)
  • กำหนดการลงทะเบียนที่จะเปิดในวันที่ 17-18 มิ.ย./ช่วง Add/Drop
  • การกู้ยืม/ทุน

การแต่งกาย

uniform


 

 

กำหนดการประชุมผู้ปกครอง

Parents Meeting Schedule

วันที่ 12 มิถุนายน 2564 เวลา 13.00 - 16.00 น.

กำหนดการช่วงที่ 1 (บรรยายรวม)
13.00 น. (Facebook live)
  • คลิปแนะนำวิทยาลัยและหลักสูตร
  • ผู้บริหารมหาวิทยาลัยกล่าวต้อนรับและแสดงความยินดี
  • ผู้แทนผู้บริหารวิทยาลัยฯ กล่างต้อนรับและแสดงความยินดี
  • คลิปแนะนำด้านสวัสดิการและทุนการศึกษรา
  • สโมสรนักศึกษาแนะนำตัวและพูดคุยกับผู้ปกครองเกี่ยวกับกิจกรรมนักศึกษา
  • ช่วงตอบคำถามผู้ปกครอง
กำหนดการช่วงที่ 2(แยกแต่ละหลักสูตรพบที่ปรึกษา)
เริ่มเวลา 15.00 น. ผ่านระบบ Zoom
    พูดคุยกับประธานสาขาฯ และ อาจารย์ที่ปรึกษา
  • การเรียนการสอนตลอดหลักสูตร
  • การเรียนออนไลน์และการเตรียมความพร้อม
  • การฝึกงานและสหกิจศึกษา
  • การทำงานในอนาคต

Q & A

Q1: วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี เป็นวิทยาลัยที่อยู่ใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่หรือไม่?
ตอบ: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยหลักของจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือ มีความพร้อมด้านบุคลากร วิชาการ สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ พร้อมที่จะก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางระดับนานาชาติในการจัดการศึกษาและวิจัย เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางในด้านต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อสนับสนุนภาครัฐ เอกชนและชุมชนในเขตภาคเหนือ จึงได้นำเสนอกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของเชียงใหม่ในยุคเศรษฐกิจใหม่ ในการสัมมนายุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเหนือเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2546 โดยเสนอโครงการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันเน้นการพัฒนากลุ่มแข่งขัน (Competitive Cluster) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หัตถอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมซอฟแวร์ในภาคเหนือพร้อม ๆ กัน และได้นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยได้รับอนุมัติโครงการในวันที่ 22 กรกฏาคม 2549 เป็นกรอบงบประมาณทั้งสิ้น 464.3 ล้านบาท สภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2546 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2546 อนุมัติให้จัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร สื่อและศิลปะ โดยให้แก้ไขชื่อเป็น “วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (College of Arts Media and Technology)” มีฐานะเป็นองค์กรในกำกับมหาวิทยาลัย ในระดับเทียบเท่ากับคณะ ที่ไม่เป็นส่วนราชการตามมาตรา 8 และ 9 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2530 มีการบริหารงานเป็นอิสระจากระบบราชการมีการบริหารและการจัดการเทียบเท่ากับวิทยาลัยนานาชาติของมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เช่น สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธรแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น โดยจะมีการจัดตั้งหน่วยดำเนินการในรูปของสถาบันและศูนย์นานาชาติเพื่อให้การบริหารจัดการมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพต่อไป

Q2: ทำไมถึงชื่อวิทยาลัยฯ ทำไมไม่เรียกคณะ?
ตอบ: เพราะวิทยาลัยฯ สามารถบริหารงานที่เป็นอิสระจากระบบราชการ มีการบริหารจัดการที่คล่องตัว ได้มากกว่า

Q3: จบจากวิทยาลัยฯ ทำอาชีพอะไร?
ตอบ:

    แนวทางประกอบอาชีพ สาขา SE
  1. วิศวกรรมซอฟต์แวร์
  2. โปรแกรมเมอร์หรือนักพัฒนาระบบ
  3. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
  4. นักทดสอบโปรแกรม
  5. ผู้ประกอบการบริษัทซอฟต์แวร์
  6. ผู้จัดการโครงการซอฟต์แวร์
  7. วิศวกรปรับปรุงกระบวนการซอฟต์แวร์
  8. สถาปนิกซอฟต์แวร์
    แนวทางประกอบอาชีพ สาขา MMIT
  1. นักพัฒนาระบบฐานข้อมูล (Database Business Administrators)
  2. นักพัฒนาระบบเว็บไซต์ (Web Site Developer)
  3. นักปฏิบัติงานสายสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Support)
  4. ผู้ประสานงานขายด้านเทคโนโลยี (Sale IT)
  5. ผู้วางแผนการผลิตและจัดการโลจิสติกส์
  6. ผู้บริหารจัดการโครงการ (Project Manager)
  7. รับราชการพนักงานของรัฐ หรือ พนักงานเอกชน ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและ/หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ
    แนวทางประกอบอาชีพ สาขา ANI
  1. นักเทคนิคพิเศษทางภาพ (VFX Artist)
  2. ดิจิทัล อาร์ตติส (Digital Artist)
  3. ผู้คุมการผลิตการสร้างเทคนิคพิเศษทางภาพ (Visual Effects Producer)
  4. นักออกแบบภาพจากคอมพิวเตอร์ (Computer Graphic Designer)
  5. นักสร้างภาพดิจิทัล (Digital Image Maker)
  6. ผู้กำกับภาพยนตร์ดิจิทัล (Digital Movie Director)
  7. นักเทคนิคภาพดิจิทัล (Digital Imaging Technicians (DITs))
  8. ผู้ประกอบเทคนิคพิเศษทางภาพของภาพยนตร์ (Film Compositor)
  9. นักควบคุมโทนสี (Colorists)
    แนวทางประกอบอาชีพ สาขา DG
  1. นักพัฒนาเกม (Game Developer)
  2. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
  3. นักพัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ปฏิสัมพันธ์ (Interactive Application Developer)
  4. นักออกแบบเกม (Game Designer)
  5. นักทดสอบและวิเคราะห์เกม (Game Tester and Analyser)
  6. นักออกแบบกราฟิกสำหรับเกม (Graphic Game Designer)
  7. นักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก (Scientists in Computer Graphics)
  8. นักวิชาการคอมพิวเตอร์ (Computer Specialist)
  9. เป็นผู้ประกอบการผู้ผลิตดิจิทัลเกม (Digital Game Entrepreneur)
    แนวทางประกอบอาชีพ สาขา DII
  1. เจ้าหน้าที่ทำงานทางด้านดิจิทัลในองค์กร
  2. เจ้าหน้าที่ดูแลระบบด้านดิจิทัล
  3. ผู้บริหารด้านดิจิทัลทุกระดับ
  4. ผู้กำหนดนโยบายและจัดการยุทธศาสตร์ ด้านดิจิทัล
  5. ผู้ประกอบการอิสระด้านดิจิทัล
  6. นักวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจดิจิทัล
  7. นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
  8. นักวางแผน และพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล
  9. ผู้เชี่ยวชาญและให้คำปรึกษาด้านการจัดการเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล

Q4: ค่าเทอมเท่าไหร่ ?
ตอบ:

SE ค่าเทอมแบบเหมาจ่าย 40,000/เทอม *เฉพาะปีการศึกษา 1/63   35,500/เทอม
MMIT ค่าเทอมแบบเหมาจ่าย 35,000/เทอม *เฉพาะปีการศึกษา 1/63   30,500/เทอม
ANI ค่าเทอมแบบเหมาจ่าย 38,000/เทอม *เฉพาะปีการศึกษา 1/63   33,000/เทอม
DG ค่าเทอมแบบเหมาจ่าย 38,000/เทอม *เฉพาะปีการศึกษา 1/63   33,000/เทอม
DII ค่าเทอมแบบเหมาจ่าย 35,000/เทอม *เฉพาะปีการศึกษา 1/63   30,500/เทอม

Q5: Spec คอมพิวเตอร์ ของนักศึกษาควรใช้คอมรุ่นไหนดี?
ตอบ: หากนักศึกษาประสงค์จะซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเรียนสเปคเครื่องคอมพิวเตอร์ควรจะเป็น intel core i5 หรือ AMD ryzen 5 โดยมีหน่วยความจําหรือ ram 8 กิกะไบต์ขึ้นไป -โดยปกติแล้วในชั้นปีที่1 จะยังมีวิชาที่จะต้องใช้คอมพิวเตอร์ไม่มากทางผู้ปกครองและนักศึกษาสามารถซื้อคอมพิวเตอร์เมื่อนักศึกษาขึ้นปีที่ 2 ได้แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับคความประสงค์ของทางผู้ปกครองและนักศึกษา

Q6: หากไม่มีคอมพิวเตอร์ต้องการยืมคอมพิวเตอร์คณะ ต้องทำไงดี
ตอบ:

  1. เขียนใบแบบขขอนุญาตยืมครุภัณฑ์ (สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://1th.me/Rt87q)
  2. นำไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาเซ็น
  3. และนำไปยื้นขอยืมอุปกรณ์ได้ที่ฝ่าย IT ได้ที่ห้อง 315

Q7: การเรียนการสอนในปีการศึกษา 1/63 จะเป็นอย่างไร?
ตอบ:

  • สาขา วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (SE) และสาขาการจัดการสมัยใหม่และเทคโนโลยี (MMIT) เรียนออนไลน์ 100% เนื่องด้วยมีนักศึกษาต่างชาติเรียนร่วมด้วย จึงทำให้ไม่สามารถจัดห้องเรียนแบบออฟไลน์ได้
  • สาขาแอนนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ (ANI) สาขาดิจิทัลเกม (DG) และสาขาบูรณาการอุตสาหกรรมดิจิทัล (DII) เรียนแบบทั้งแบบเรียนออนไลน์และเรียนแบบออฟไลน์ โดยจะมีการจัดที่ New Normal เว้นระยะห่าง ตามมาตรการการป้องกันโรคระบาดของกระทรวงสาธารณสุข

Q8: การเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดเลยไหม? ถ้าไม่เก่งภาษาอังกฤษจะเรียนรู้เรื่องไหม ?
ตอบ: สำหรับน้องๆ ในสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ที่เป็นหลักสูตรนานาชาติ จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ 100% ส่วนหลักสูตร 2 ภาษา จัดการเรียนการสอนทั้งภาษาไทยและอังกฤษ แต่นักศึกษาสามารถสอบถามอาจารย์ได้ในกรณีที่นักศึกษาเกิดความสงสัยหรือไม่เข้าใจเนื้อหาวิชา

Q9: กิจกรรมนักศึกษามีอะไรบ้าง?
ตอบ: ดูได้จาก >> https://www.facebook.com/smo.camt/

Q10: การกู้เงินมีเงื่อนไขอะไรบ้าง?
ตอบ: ดูได้จาก >> คลิกที่นี่

Q11: กู้กยศ.ทางคณะช่วยดูแลอย่างไรบ้างและการเซ็นรับรองรายได้ทางอธิการสามารถช่วยเซ็นได้หรือไม่
ตอบ:

  • การกู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา วิทยาลัยฯได้มีการประชาสัมพันธ์และตรวจทานเอกสารเบื้องต้น เพื่อรักษาสิทธิ์ของนักศึกษาทุกคน
  • การเซ็นรับรองรายได้ผู้ปกครอง ควรให้กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ในเขตปกครองของท่าน หรือข้าราชการทุกหน่วยงาน ทุกสังกัด (ที่มีบัตรประจำตัวข้าราชการ) ลงนาม

Q12: ยังมีประชุมเชียร์อยู่ไหมค่ะ
ตอบ: ในเบื้องต้น สโมสรนักศึกษาจะมีกิจกรรมที่เรียกในภาพรวมว่าห้องกิจกรรม ซึ่งเน้นกิจกรรมผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก เป็นกิจกรรมแบบสมัครใจ และอาจมีกิจกรรมพบปะนักศึกษาในช่วงสิ้นภาคการศึกษาที่ 1/2563

Q13: คณะมีทุนการศึกษาอะไรบ้าง?
ตอบ: เบื้องต้นมีทุนการศึกษาเพื่อลดผลกระทบจากการระบาด COVID-19 3 ประเภท (ให้เปล่า/ขาดแคลน/ขาดแคลนพิเศษ) และทุนทำงานของวิทยาลัยฯ และทุนอื่นๆ ตามประกาศของทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Q14: เป็นห่วงเรื่องรับน้องเพราะเป็นการรวมกลุ่มกันเยอะในสถานการณ์ที่ค่อยข้างจะยังไม่ถือว่า ปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของไวรัส
ตอบ: ในเบื้องต้นกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมออนไลน์ อาจมีกิจกรรมที่ต้องนัดพบน้องใหม่ช่วงสิ้นภาคการศึกษาที่ 1/2563 ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมตามมาตรฐานการรักษาระยะห่างทางสังคม คัดกรองและจำกัดจำนวนคน (New Normal)